1st - 29th October 2022
“Or I may have come too far…”
It is the first time that artist started to realize and question to himself when looking back to consider the last four exhibitions, it looks very much like a long journey. It had been many years that I had come across historical, political, religion and mythical fields and gone deeper into chaos, which is the dark foremost basis of the universe like the previous exhibition, whereas this year the exhaustion and illness have slowly impacted my health.
This art series is an evidence that left from my healing process, considering as my worthy time that I can embrace and cure myself after many past years and in order to be an inspiration to my long journey again… when a chemical of the brain works differently in an abnormal level, an outer appearance seems to look like it is being covered with some complicated layers of sorrows. The perception through the eyes is the same image but the matter of inner emotions from experiences ain’t the same. This is the background of the light blue color that overlays on each and every works even though the details and subjects of each are different.
Overall most of the paintings are assembled images of several types of history as similar as before. When comparing to the last exhibitions we will find out that typical details with full of imaginations are more noticeable this time. In fact many types of subject matters of the works were created indistinctly which somehow relates to Rhapsody or a piece of an ancient epic Greek poem that typically filled with emotional, feelings, exuberant in words and independent in harmony more than concerning the precise construction of rhymes. And that’s the reason why poems in the 19th century like Hungarian Rhapsody of Franz Liszt or Rhapsody in blue of George Gershwin in the following century, until legend rock music like Bohemian Rhapsody of Queen are all somewhat related and connected… what I explained above is the background of this exhibition titled Blue Rhapsody.
Moreover the blue color that I chose it to be the core of this exhibition has spread its significance widely into aspects of history, politics, and society. It may be just a color that drives us to remind of a material, someone and some work or it can directly indicate sadness if we accurately interpret the meaning of words. In some case it may motivate to reminisce about an olden aristocrats, some may connect to certain symbols of powerful politics. Hence in this exhibition the blue color has featured to be used as an implement of communication on both the subject and different levels of emotions, from sadness, peace, misery until anger, aggression and so on…
“Blue Rhapsody may be nothing but a poem that had depicted for a year, a fighting time to heal the heart of artist himself with historical images in a form of medium”.
“หรือเราจะเดินทางไกลไปแล้ว ...”
เป็นครั้งแรกที่ศิลปินเริ่มย้อนกลับมาตั้งคำถามกับตัวเอง หากเมื่อมองย้อนกลับไปพิจารณาตลอด 4 นิทรรศการที่ผ่านมา มันก็ดูคล้ายการเดินทางไกลอยู่ในที เป็นหลายขวบปีที่รอนแรมไปในปริภูมิของประวัติศาสตร์ การเมือง ศาสนา ปรัมปรา กระทั่งย้อนลึกกลับไปถึงความป่วนปั่น ดำมืดอันเป็นแก่นสารเบื้องต้นของจักรวาลอย่างนิทรรศการก่อนหน้า ทว่าในปีนี้ หลังจากความอ่อนล้า และอาการป่วยไข้เริ่มทยอยมาเยี่ยมเยือน
ผลงานชุดนี้จึงเป็นเสมือนหลักฐานที่หลงเหลืออยู่จากกระบวนการรักษาอาการเจ็บป่วย นับเป็นการหันกลับมาโอบกอด และเยียวยาตัวเองในรอบหลายปี ทั้งนี้เพื่อให้มีกำลังในการออกเดินทางไกลอีกครั้ง.... เมื่อสารเคมีในสมองอยู่ในระดับที่ไม่ปกติ ฉากทัศน์ภายนอกจึงคล้ายกับถูกปกคลุมไว้กด้วยม่านหมอกแห่งความหม่นเศร้า ภาพที่รับรู้ผ่านสายตายังคงเป็นภาพเดิม แต่อารมณ์ที่เกิด จากประสบการณ์ตรงหน้านั้นต่างหากที่ไม่ปกติ นี่จึงเป็นที่มาของบรรยากาศสีน้ำเงินจางๆที่ฉาบเคลือบอยู่บนผลงานทุกชิ้น แม้ว่ารายละเอียด และเนื้อหาของแต่ละภาพจะแตกต่างกันออกไปก็ตาม
โดยภาพรวม จิตรกรรมทั้งหมดยังคงเป็นการประกอบภาพทางประวัติศาสตร์หลายรูปแบบเข้าด้วยกันเช่นที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบเคียงกับนิทรรศการก่อนๆจะพบว่า ทั้งรายละเอียดที่วิจิตรพิสดาร ความฟุ้งเฟ้อเพ้อฝันนั้น มีมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ เนื้อหาของภาพหลายประเภทที่ก่อร่างสร้างรูปขึ้นมาก็ค่อนข้างคลุมเครือ ไม่ชัดเจนนัก จะว่าไปก็คล้ายกับการร่าย Rhapsody หรือแขนงหนึ่งของบทกวีกรีกโบราณที่เปี่ยมล้นไปด้วยอารมณ์ ความรู้สึก ฟุ่มเฟือยในภาษา และอิสระในท่วงทำนอง มากกว่าการให้น้ำหนักกับความถูกต้องเชิงโครงสร้างฉันทลักลักษณ์ และเหตุผล นั่นจึงเป็นสาเหตุที่บทประพันธ์ในยุคคศต.ที่ 19 อย่าง Hungarian Rhapsody ของ Franz Liszt หรือ Rhapsody in Blue ของ George Gershwin ในศตวรรษถัดมา กระทั่งเพลงร็อคในตำนานอย่าง Bohemian Rhapsody ของ Queen ทั้งหมดล้วนแบ่งปันคุณลักษณะคล้ายๆกันทั้งสิ้น... ที่กล่าวมาข้างต้นจึงกลายมาเป็นที่มาของชื่อนิทรรศการ Blue Rhapsody ในครั้งนี้
มากไปกว่านั้น สีน้ำเงินที่ถูกหยิบยกมาเป็นแก่นแกนของนิทรรศการก็ได้กางขอบเขตกินความหมายกว้างออกไปทั้งในมิติทางประวัติศาสตร์ การเมือง และสังคม มันอาจเป็นเพียงแค่สีๆหนึ่งที่กระตุ้นเตือนให้เรานึกถึงวัตถุบางอย่าง คนบางคน งานจิตรกรรมบางชิ้น หรือหมายถึงความหม่นเศร้าโดยตรงหากจะแปลความตามความหมายในอักษร บางกรณีอาจชวนให้ย้อนคำนึงลึกกลับไปถึงชนชั้นสูงในโลกโบราณ บ้างก็เชื่อมโยงมันเข้ากับสัญลักษณ์ทางการเมืองอันทรงพลังบางประการ ดังนั้นแล้วในนิทรรศการนี้ สีน้ำเงินจึงถูกฉวยเอามาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารทั้งประเด็น และเฉดทางอารมณ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่หม่นเศร้า สงบเงียบ หดหู่สิ้นหวัง เรื่อยไปจนกระทั่งโกรธขึ้ง และกราดเกรี้ยว ...
“Blue Rhapsody อาจไม่ใช่อะไรเลยนอกจากบทกวีที่ร่ายรำพันถึงขวบปีแห่งการต่อสู้เพื่อเยียวยาจิตใจตนเองของศิลปิน โดยมีภาพทางประวัติศาสตร์เป็นร่างทรงเท่านั้น”
A Portrait in Garland, 2022
Oil on linen,
65x82 cm.
Conserve, 2022
Oil on linen,
100x150 cm.
Portrait of Francis Bacon,, 2022
Oil on linen,
130x130 cm.
Shine, 2022
Oil on linen,
90x110 cm.
The Blue Garland, 2022
Oil on linen,
120x195 cm.
The Flayed Marsyas, 2022
Oil on linen,
135x50.5 cm.
Under the blue moon (after W.A.Bouguereau), 2022
Oil on linen,
155x120 cm.
Under the Deep Blue Sky, 2022
Oil on linen,
120x195 cm.
Undermind, 2022
Oil on linen,
70.5x80.5 cm.
Vanitas (in motion), 2022
Oil on linen,
62x76 cm.