9th – 30th May 2020
“Life is broken, Kingdom is destroyed, The benefits of the person disappear, only Art that remains to be the evidence of human intelligence that will last forever” (Silpa Bhirasri)
This statement of Silpa Bhirasri makes us realize the value of Art which is the aesthetics through human creativity to express the emotions, feelings, and thoughts and it turns out to be the beauty, the impression, and the pleasure. As well as the traditions to the religious beliefs that Indicate psychological development and high intelligence which is valuable to life and society.
Number 1 Gallery would like to be a part in recording the story of the Covid-19 pandemics which is spreading worldwide right now by the creation of the exhibition “HUMAN-19” This is the special collaboration between 7 artists : Kittisak Thapkoa, Nattiwut Choomanowat, Pat Yingcharoen, Prawit Lumcharoen, Tewaporn Maikongkeaw, Thunchanok Plakulsantikorn, Thinnapat Takuear. The artists together creating the artwork by using the story of Covid-19 Pandemic and express it in the different emotions and points of view.
Aside from reflecting the story that is happening and become a great lesson to learn right now, Art also helps us to keep up with our inner feelings and aware of the value of our surroundings at this time of the quarantine. The appreciation of Art will be a healer that will uplift everybody’s mind.
Kittisak Thapkoa : Today's society has significantly developed but human's behaviour is contrastingly has been worsen. For example, the pandemic that leads to a conflict that will be resulted in a lost. The artist therefore, took the buddhist's belief to be the guidance of his life to make him see through the truth and the uncertainty of life.
Nattiwut Choomanowat : The artist put forward the pictures of the celebrations of the ancient painting and separating characters to keep the space and avoid being close to each other for a while and brought strange stories that happened to those people who affected by this pandemic to present on the different point of view to reduce the stress on today’s situation.
Pat Yingcharoen : Since all the pandemic that used to happen in the past until the modern kinds pandemic, human still survives and held the race up until today. The reason is not that we can overcome the epidemic but it is actually because human is being able to adapt and learn to maintain self-negligence. Going back to consider the historical evidence our ancestors have recorded regarding past disasters can make us foreseen the ways to overcome it. Moreover, to record the history of the current pandemic is also the artist’s obligation to do so.
Prawit Lumcharoen : The world after Covid-19 will definitely be different. The terror fear of emerging diseases affects people’s routines and businesses to keep distance between each other in this Covid-19 situation. Technology is the hero to ease up the situation which is the challenge for humankind.
Tewaporn Maikongkeaw : While society is facing common problems, there are still inequities in society. There is still selfishness from human which is an unsolvable problem in today's society.
Thinnapat Takuear : While the diseases are spreading, at the same time, the evil of mankind also appears which is as bad as the diseases. Images that communicate in the futuristic approach, humans, evil, and selfishness.
Thunchanok Plakulsantikorn : The artist encourages to stop eating and stop buying wildlife to avoid the root cause of this pandemic and the spread of germs from animals to humans.
“ชีวิตสลาย อาณาจักรพินาศ ผลประโยชน์ของบุคคลมลายหายสิ้นไป แต่ศิลปะเท่านั้นที่ยังคงเหลือ เป็นพยานแห่งความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์อยู่ตลอดกาล” (ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี)
ดั่งคำกล่าวของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แสดงให้ตระหนักถึงความล้ำค่าของศิลปะ ศาสตร์แห่งสุนทรียภาพที่ผ่านความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญาความคิด เกิดเป็นความงาม ความประทับใจ ความสะเทือนอารมณ์และความรื่นรมย์ รวมถึงขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีไปจนถึงความเชื่อทางศาสนา บ่งบอกถึงความเจริญทางด้านจิตใจและสติปัญญาอันสูงซึ่งมีคุณค่าต่อชีวิตและสังคม
นัมเบอร์วันแกลลอรี่ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการบันทึกเรื่องราวของยุควิกฤติโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบันจึงเกิดเป็นนิทรรศการ “HUMAN-19” เป็นการรวมตัวเฉพาะกิจของศิลปิน ทั้ง 7 ท่าน กิตติศักดิ์ เทพเกาะ, ณัฐิวุฒิ ชูมะโนวัฒน์, พัทธ์ ยิ่งเจริญ, ประวิทย์ ล้ำเจริญ, เทวพร ใหม่คงแก้ว, ทินพัฒน์ ทาเครือ และธัญชนก ผลากุลสันติกร โดยศิลปินได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานโดยกล่าวถึงเรื่องราวสภาวะของวิกฤติโควิด-19 แสดงออกภายใต้ มุมมอง อารมณ์ ความนึกคิดที่แตกต่างกันออกไป
นอกจากจะเป็นการสะท้อนถึงเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นและเกิดเป็นบทการเรียนรู้อันยิ่งใหญ่แล้ว ศิลปะยังช่วยให้เรารู้เท่าทันความรู้สึกภายในตนเองและตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งรอบตัวในช่วงเวลาแห่งการกักตัวนี้ การชื่นชมความงาม ความประณีตละเอียดอ่อนของงานศิลปะ จะเป็นเครื่องช่วยเยียวยาและยกระดับทางจิตใจต่อมนุษย์ทุกคน
กิตติศักดิ์ เทพเกาะ สังคมในปัจจุบัน มีความเจริญก้าวหน้า และพัฒนาไปอย่างมาก แต่ในเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์กลับเกิดความเสื่อมมากขึ้นทุกวันๆ เช่นการเกิดโรคร้าย การเกิดปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งนำไปสู่การสูญเสีย เป็นต้น ศิลปินจึงสร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยนำเอาคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต มองเห็นถึงแก่นแห่งความจริงแท้ ความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต
ณัฐิวุฒิ ชูมะโนวัฒน์ หยิบยกนำภาพงานฉลองของผลงานจิตรกรรมโบราณมาแยกตัวละครออกจากกัน เพื่อเว้นระยะห่าง ลดการอยู่ใกล้ชิดกันซักพัก และได้นำเรื่องราวแปลกๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ได้รับผลกระทบมานำเสนอด้วยมุมมองที่ต่างออกไปเพื่อลดความตึงเครียดในสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้น
พัทธ์ ยิ่งเจริญ ตั้งแต่กาฬโรค วัณโรค อหิวาฯ ไข้ทรพิษ เรื่อยมาจนกระทั่งโรคระบาดสมัยใหม่หลังคริสต์ศตวรรษที่ 20 มนุษย์ก็ยังคงสามารถอยู่รอด และดำรงเผ่าพันธุ์มาจนกระทั่งปัจจุบัน สาเหตุมิใช่การที่เราสามารถเอาชนะโรคระบาด และความตายที่ตามมากับมันได้แต่อย่างใดหากแต่เป็นการที่มนุษย์สามารถปรับตัวและเรียนรู้ที่จะดำรงตนในความไม่ประมาท การย้อนกลับไปพิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บรรพบุรุษของเราได้บันทึกเกี่ยวเนื่องกับหายนะในอดีตจะสามารถทำให้เรามองเห็นแนวทางในการก้าวข้ามมากไปกว่านั้นการบันทึกประวัติศาสตร์ในหน้ปัจจุบันเกี่ยวกับโรคระบาดครั้งนี้ ก็เป็นพันธะของจิตรกรที่จำเป็นต้องทำ
ประวิทย์ ล้ำเจริญ โลกหลังโควิด-19 แน่นอนจะเป็นโลกใบเดิมที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ความหวาดกลัวพิษสงของโรคอุบัติใหม่ ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คน ธุรกิจ เศรษฐกิจ มีระยะห่างในเชิงกายภาพขณะที่ในช่วงวิกฤติโควิด-19 เทคโนโลยี คือ ฮีโร่ในการประคองสถานการณ์เป็นความท้าทายของมนุษยชาติ
เทวพร ใหม่คงแก้ว ขณะที่สังคมต้องเผชิญกับปัญหาร่วมกันอยู่แต่ความเหลื่อมล้ำต่างๆในสังคมก็ยังมี ความเอารัดเอาเปรียบกัน การเห็นแก่ตัวของคนก็ยังคงมีและยังคงเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้ในสังคมปัจจุบันนี้
ทินพัฒน์ ทาเครือ ในขณะที่เชื้อโรคเเพร่ระบาดเวลาเดียวกัน ความชั่วร้ายของมนุษษ์ก็ปรากฏ เลวร้าย ไม่เเตกต่างจากเชื้อโรค ภาพลักษณ์ ซึ่งสื่อสารออกมาในแนวทาง Futuristic โลกเเห่งอนาคตอันใกล้ ที่เเฝงอยู่ในตัวตน คน ความเลวร้ายเห็นเเก่ตัว ไม่ถูกซ่อนเหมือนเคยได้ยิน
ธัญชนก ผลากุลสันติกร นำเสนอถึงการหยุดบริโภค หยุดซื้อขายสัตว์ป่า เท่ากับเป็นการหยุดยั้งการเกิดโรค และการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากสัตว์สู่มนุษย์
Artist : Kittisak Thapkoa, Human realm มนุษย์ภูมิ, 2020
Acrylic on canvas,
120x90 cm.
Artist : Nattiwut Choomanowat, Home quarantine no.1, 2020
Oil on canvas,
120X120 cm.
Artist : Nattiwut Choomanowat, Home quarantine no.2, 2020, Oil on canvas, 120X60 cm., 2020
Oil on canvas,
120X60 cm.
Artist : Pat Yingcharoen, Self portrait of the artist in the period of the great pandemic, 2020
Oil on canvas,
103x77 cm
Artist : Pat Yingcharoen, Pestilence, 2020
Oil on canvas,
180x145 cm.
Artist : Prawit Lumcharoen, Panic. After David (Michelangelo), 2020
Oil on canvas,
110X80 cm.
Artist : Prawit Lumcharoen, Restrain -Wrecked ยับยั้ง-ยับเยิน, 2020
Oil on canvas,
80X99 cm.
Artist : Tewaporn Maikongkeaw, Inequality เหลื่อมล้ำลำเอียง, 2020
Oil on canvas,
120X100 cm.
Artist : Tewaporn Maikongkeaw, Satiated อิ่มหมีพีมัน, 2020
Oil on canvas,
120X100 cm.
Artist : Thinnapat Takuear, Incubation period, 2020
Oil on linen,
90x60 cm.
Artist : Thinnapat Takuear, Transmission, 2020
Oil on linen,
100x66 cm.
Artist : Thunchanok Plakulsantikorn, Am I infected? (I), 2020
Tempera on cotton,
Diameter 31×31 cm.
Artist : Thunchanok Plakulsantikorn, Am I infected? (I), 2020
Tempera on cotton,
Diameter 31×31 cm.
Artist : Thunchanok Plakulsantikorn, Am I infected? (II), 2020
Tempera on cotton,
60x80 cm.